วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลทั่วไป


ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน

1. วิสัยทัศน์ของโรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน
โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านมุ่งเน้นให้นักเรียนแต่ละระดับมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ รักการอ่าน การเขียน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มีทักษะ พื้นฐานในการทำงานและประกอบอาชีพ มีสุขภาพและบุคลิกที่ดี รักธรรมชาติ ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้าน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา โรงเรียนนี้ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2514 ด้วยเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอาคารเรียนแบบ ป.1 ซ ขนาด 2 ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 60,000 บาท ( หกหมื่นบาทถ้วน ) โดยได้เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2515 มีนายประสาสน์ สุวรรณคำ นายอำเภอท่าสองยางเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนและโรงเรียนได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาร่วมกระทำพิธีซึ่งมีพระพรม พุทธโบ เจ้าอาวาสวัดแม่ต้านเหนือเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และท่านได้ทำการเจริญ พระพุทธมนต์ ในเวลาเย็นของวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2515 รุ่งขึ้นทางโรงเรียนได้ทำบุญ ตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์และจัดอาหารเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงานทุกคน จากนั้นนายอำเภอท่าสองยางได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียน พระสงฆ์เจิมป้ายโรงเรียนเป็นอันเสร็จพิธี
หลังเสร็จพิธีแล้ว นายอำเภอท่าสองยางได้ประชุมชาวบ้านและชี้แจงให้ผู้ปกครอง นักเรียนทราบถึงความสำคัญของการศึกษา มีผู้มาร่วมประชุมประมาณ 20 คน และในโอกาสนี้ทาง ท่านนายอำเภอได้แจกเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว ยารักษาโรค และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนารถ ไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย
โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านนี้มีนายมงคล โทวุฒิกุล เป็นครูใหญ่คนแรกในการเปิด ทำการสอนครั้งแรกนั้น มีนักเรียนมาเรียนทั้งสิ้น 24 คน เป็นนักเรียนชาย 22 คน นักเรียนหญิง 2 คน และหมู่ที่ 14 ในขณะนั้นมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายพะเหระดี
ปีงบประมาณ 2516 ทางโรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู แบบเดี่ยว 1 ชั้น 2 ห้องนอน เป็นแบบกรมสามัญ ราคาก่อสร้างทั้งหมด 25,000 บาท ( สองหมื่นห้าพันบาท)
ปีงบประมาณต่อมาได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ใช้การได้ไม่นานถูกต้นไม้โค่นล้มทับ เนื่องจากพายุพัดแรงปรากฎว่าหลังคาฝาผนังพังหมด
ปีงบประมาณ 2529 ทางโรงเรียนได้งบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนเป็นเงิน 30,000 บาท ( สามหมื่นบาทถ้วน ) โดยได้ทำการเปลี่ยนหลังคาทั้งหมดและเปลี่ยนฝาทางด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันโรงเรียนก็ได้ขอความร่วมมือจากผู้รับจ้างช่วยกั้นห้องเรียนจาก 2 ห้องเรียน เป็น 3 ห้องเรียนโดยทางโรงเรียนจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาให้และผู้รับจ้างช่วยเหลือในเรื่องแรงงานก่อสร้างจนแล้วเสร็จ คิดเป็นมูลค่าในช่วงที่กั้นห้องเรียนนี้ประมาณ 3,000 บาท( สามพันบาทถ้วน )
ในช่วงปีการศึกษา 2529 นี้ทางโรงเรียนได้หางบประมาณมาได้จำนวนหนึ่งโดยร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน กรรมการศึกษา จัดหาวัสดุอุปกรณ์มาเพื่อล้อมรั้วโรงเรียนโดยร่วมมือกับชาวบ้านจนแล้วเสร็จ หมดค่าใช้จ่าย 2,000 บาท ( สองพันบาทถ้วน ) ซึ่งเมื่อโรงเรียนล้อมรั้วเสร็จแล้วก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านมากินและทำลายต้นไม้ในโรงเรียน
ปีงบประมาณ 2530 โดยทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.
601/26 จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ราคาก่อสร้าง 20,000 บาท ( สองหมื่นบาทถ้วน ) นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณก่อสร้างถังเก็บน้ำฝนอีก 1 ชุด เป็นแบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 4 ถัง ราคาก่อสร้าง 35,000 บาท ( สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน ) และทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 มีนาคม
พุทธศักราช 2531
ปีงบประมาณ 2535 ทางโรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มอีก 1หลัง เป็นแบบ ป.1 ฉ ขนาด 3ห้องเรียน ราคาก่อสร้าง 726,000 บาท ( เจ็ดแสนสองหมื่นหกพันบาทถ้วน ) เริ่มก่อสร้างวันที่ 27 เมษายน 2535 และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2536
ปี พ.ศ. 2536 นายพะแลเปื่อย และนายดิ๊เหย่ บริจาคที่ดินซึ่งติดกับโรงเรียนด้าน ทิศตะวันออกให้โรงเรียนจำนวน 1 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา โรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ 3 งาน 77 ตารางวา
ปีงบประมาณ 2545 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบ สปช.601/26 จำนวน 1 หลัง มี 2 ที่นั่ง ราคาก่อสร้าง 45,000 บาท ( สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน )
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านขุนห้วยแม่ต้านมี นายอุทัย กันธวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งมาดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2546 และมีครูผู้สอนจำนวน 5 คน คือ 1. นายอิศยม เครือคำแดง 2. นางธัญลักษณ์ กาวินำ 3. นางสาวปรัศนีใจ กุนนะ 4. นางสาวทิพมาศ สุริทะรา 5. นางสาวปาริชาต แสงพานิช โรงเรียนเปิดทำการสอนตั่งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 รวม 8 ห้องเรียน มีนักเรียนชาย 75 คน นักเรียนหญิง 75 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน

3. นโยบาย พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมให้การศึกษาเด็กทุกคนที่อยู่ในวัยเรียน และอยู่ในเขตบริการได้รับการศึกษาโดยทั่วถึง อย่างเสมอภาค และมีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. พัฒนาการบริหาร โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม
3. พัฒนาครูในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์
1. ประชากรวัยเรียนระดับปฐมวัยและการศึกษาภาคบังคับ ได้รับการศึกษาอย่างมี
คุณภาพตามมาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีศักยภาพทัดเทียมกับ
โรงเรียนที่อยู่ในชุมชนเมือง
2. จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อรองรับการประเมินภายนอก
3. พัฒนาครูให้มีความรู้ มีคุณธรรม มีทักษะและความสามารถในการปฏิรูป กระบวนการเรียนรู้ โดยเด็กเป็นศูนย์กลาง และปฏิรูปงานอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
4. เด็กในเขตบริการได้รับการศึกษาทุกคนอย่างเสมอภาค
5. การบริหารจัดการที่ดี และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น
6. ให้มีอาคารสถานที่ที่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

ไผ่ ต้นไม้สารพัดประโยชน์


ไผ่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน และในปัจจุบันไผ่ก็ยังทรงคุณประโยชน์นานับประการ หากเราลองสังเกตดูว่า ในงานของเราก็ต้องมีภาชนะเครื่องใช้ หรือเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่สักหนึ่งเป็นอย่างน้อย ลำไผ่มีประโยชน์ตั้งแต่สสร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี ของเล่น หน่อไม้ก็ใช้ประโยชน์ต่อการบริโภคและขายเป็นอาชีพได้


ในช่วงหน้าฝนของทุกปี เราจะเห็นหน่อไม้มากมายขายกันในท้องตลาด หรือสองข้างทาง อย่างที่ใกล้กรุงเทพฯที่สุด เราอาจจะเคยเห็นกองหน่อไม้พะเนินเทินทึก เมื่อเข้าเมืองนครนายก หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ป่าไผ่คงต้องหมดไปในไม่ช้านี้แน่ๆ หากชาวบ้านขุดหน่อไม้มากมายขนาดนี้โครงการของมูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง คือ โครงการพัฒนาชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าธรรมชาติลุ่มน้ำวัง อำเภอเถิน และโครงการฟื้นฟูและทรัพยากรธรรมชาติลุามน้ำแม่สอย อำเภอเมืองปาน ต่างก็ให้ความสนใจเรื่องหน่อไม้ เราได้สนับสนุนให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม ด้วยการทำหน่อไม้อัดปี๊ปขาย นับเป็นรายได้เสริมในครอบครัว ในช่วงหน้าฝนข้าวปลาอาหารจะอุดมสมบูรณ์มาก มีทั้งเห็ด หน่อไม้ ตัวต่อ กบ ปลา พืชชนิดอื่นๆ ชาวบ้านจะดำนา และยังช่วยกันลงแขกเช่นเดิม และมีมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีเงินเหลือพอที่จะจ้าง แต่จะช่วยกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อเสร็จงานในตอนเย็นก็เข้าป่าหาของป่ามาขายการหาหน่อไม้จะเป็นอาชีพเสริมหลักของชุมชนในช่วงนี้ เท่าที่โครงการฯได้ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาชุมชน ในเรื่องการเก็บหน่อไม้ ได้รวบรวมประโยชน์ของหน่อไม้ที่นำมาบริโภค และชนิดของหน่อไม้ก็ให้คุณสมบัติต่อกาารบริโภคที่แตกต่างกัน ทำให้การบริโถคหรือการแปรรูปต้องเลือกชนิดและขนาดของหน่อไม้ด้วย ชาวบ้านสามารถแปรรูปหน่อไม้ได้มากมาย เช่น
1. หน่อไม้ดอง ซึ่งจะใช้หน่อซาง หน่อบงวิธีทำ ฝานหน่อไม้คลุกเคล้ากับเกลือ บรรจุใส่โอง ปิดฝาให้มิดชิด สามารถเก็บไว้กินได้ทั้งปี
2. หน่อไม้ตากแห้ง ใช้หน่อหก และหน่อซางวิธีทำ ทำความสะอาดหน่อไม้ แล้วฝานบางๆ ไปต้มกับน้ำให้เดือด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง เก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด
3. หน่อไม้อัดปี๊ป ใช้หน่อไร่ และหน่อรวกวิธีทำ เอาเปลือกออกและทำความสะอาดต้มหน่อไม้ แล้วเทน้ำทิ้ง บรรจุลงปี๊ปแล้วต้มต่อให้เดือด
4. หน่อหนีบ ใช้หน่อไร่วิธีทำ เลือกหน่อไม้ไร่ที่หางพอเหมาะ นำมาล้างและฝานผึ่งไว้ แล้วนำมาบรรจุในกระบอกไม้ไผ่บงประมาณ 2 ใน 3 แล้วนำขี้ฝอยจากการจักตอกปิดทับ นำก้อนหินวางทับข้างบนอีกครั้งหนึ่ง ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำออกจากหน่อไม้ เป็นอันใช้ได้
5. หน่อส้ม ใช้หน่อไร่ หน่อบง หน่อซางวิธีทำ สับหน่อไม้ตามทางยาว ใส่น้ำแล้วตากแดด 3 วัน นำมาแกงหรือต้มได้
6. หน่อโอ่ ใช้หน่อไร่วิธีทำ ทำความสะอาดหน่อไม้ แล้วบรรจุลงโอ่งหรือปี๊ป เอาน้ำใส่ เปิดแล้วใช้หินทับไว้ นำไปแช่น้ำในลำห้วย หนอง คลอง บึง ประมาณ 10 วัน นำมาต้มรับประทานกับพริกป่น

ที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันนั่นคือ เมล็ดไผ่เมื่อตายขุย สามารถเก็บแล้วนำมาตำ หุงแทนข้าวได้ มีรสชาติหวานและมีความเหนียว คนสมัยก่อนจะเก็บเมล็ดไผ่ตายขุยไว้ เมื่อยามขาดแคลนข้าวก็นำออกมาใช้ได้นอกจากใช้บริโภคแล้ว ยังนำมาสร้างบ้านด้วย ไผ่ที่ใช้สร้างบ้านจะต้องมีอายุเกิน 3 ปีขึ้นไป ยิ่งแก่มากก็จะยิ่งทนทานมาก มอดแมลงไม่ไช การสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ก็จะเลือกชนิดของไผ่ เพื่อให้เหมาะต่อการใช้งาน เช่น• ไผ่บง มีลำขนาดใหญ่ เนื้อหนา ห้างนา ห้างไร่ บันได หรือโครงหลังคา• ไผ่ซาง มีลำขนาดใหญ่ มีความหนา เหนียว ปล้องสั้นกว่าไผ่บง ใช้ทำฟากพื้น หรือฝา• ไม้ไผ่ไร่ มีลำเล็กกว่าไผ่บง มีความเหนียว ปล้องยาว ใช้จักตอกมัดข้าว กล้า หรือหลังคาบ้าน• ไผ่รวก มีลำขนาดเล็ก เหนียว ปล้องยาว ใช้ทำกลอนหลังคา ด้ามอุปกรณ์เครื่องใช้• ไผ่ข้าวหลาม มีลำขนาดกลาง ปล้องยาวมากกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ มีความเหนียวน้อยกว่า ไม่ทนทาน นิยมนำมาทำข้าวหลาม หรือจักตอกไว้มัดข้าว กล้า องค์ความรู้ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากไผ่ สรุปได้ดังนี้การนำหน่อไม้มาบริโภคการนำเอาหน่อไม้มาเป็นอาหารหรือจำหน่าย ชาวบ้านจะไม่ขุดมาทั้งหมด จะเหลือไว้อย่างน้อยกอละ 2 หน่อหน่อไม้บางชนิด เมื่อพ้นดินแล้ว ชาวบ้านจะไม่นิยมบริโภค เช่น หน่อหก หน่อซาง ทำให้เติบโตเป็นต้นไผ่ได้การตัดเอาหน่อไม้ที่อยู่พ้นดินบางชนิด เช่น หน่อรวก หน่อไร่ จะเอาส่วนที่พ้นดินขึ้นมา 2-3 นิ้ว จึงเหลือตอที่สามารถแตกกิ่งเป็นต้นไผ่ได้ระยะเวลาของการขุดเอาหน่อไม้ของแต่ละชนิดแตกต่างกัน ทำให้ช่วงของการเจริญเติบโต เช่น ในเดือนเมษายน-มิถุนายน จะขุดหน่อซาง, มิถุนายน-กรกฎาคม จะขุดหน่อหก, กรกฎาคม-ตุลาคม จะขุดหน่อไร่ หน่อรวกการใช้ประโยชน์จากลำไผ่ชาวบ้านจะใช้ไม้ไผ่ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป เพื่อใช้ทำอุปกรณ์เครื่องใช้ และสร้างบ้าน โดยเลือกชนิดตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วชุมชนปญาเกอญอ แม่หมี-แม่ต๋อม ที่มีความเชื่อต่อการใช้ไม้ไผ่ มีข้อห้ามไม่ให้นำไม้ไผ่ข้ามหลามเข้าหมู่บ้าน เพราะเชื่อว่าผีจะสิงสถิตย์อยู่ในไผ่ข้าวหลาม หากนำเข้ามาก็จะเท่ากับนำผีเข้ามาด้วย ทำให้ทุกคนในหมู่บ้านล้มเจ็บ หรือเกิดเหตุร้ายขึ้นในหมู่บ้าน หากถึงเทศกาลกินข้าวหลามเดือนกุมภาพันธ์ ชาวบ้านจะเผาข้าวหลามนอกหมู่บ้าน เมื่อเสร็จแล้วจึงจะสามารถนำเข้าหมู่บ้านได้ขณะที่ชาวบ้านจาก 2 พื้นที่โครงการได้รับประโยชน์จากไผ่มากมาย เพื่อมิให้ป่าไผ่หมดไป ชาวบ้านยังได้กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ของการนำเอาหน่อไม้และลำไผ่ เช่น มิให้คนนอกหมู่บ้านเข้ามาขุดหน่อไม้ไป หรือไม่ขายลำไผ่ในปริมาณมากขนาดรถยนต์ขน เพื่อเข้าโรงงานทำเยื่อกระดาษ หรืออื่นๆทั้งนี้ทุกคนยอมรับและปฏิบัติร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากป่า มิเช่นนั้นแหล่งทรัพยากรจากป่าก็จะหมดสิ้นไป การใช้ไม้ไผ่ได้อย่างยั้งยืนนั้น จำต้องมีการจัดทรัพยากรโดยชาวบ้านผู้ใช้ประโยชน์จากไผ่ ในพื้นที่นั้นๆ นั่นเอง

การทำหน่อไม้อัดถุงพลาสติก


1.วัสดุอุปกรณ์ - หน่อไม้ดิบ - มีด - ถุงพลาสติก - ยางรัด- หม้อนึ่ง ไหข้าว - เตาอั้งเลา - ไม้ขีดไฟ - ฟืน

2. ขั้นตอนการทำ


2.1 นำหน่อไม่ดิบมาแกะเปลือกออกตัดส่วนที่แข็งออกแล้วล้างให้สะอาด

2.2ิ ใช้มีผ่าหน่อไม้ดิบออกเป็นสี่ส่วน นำบรรจุถุงพลาสติกใบเล็กหรือใบใหญ่ตามต้องการ




2.3 จากนั้นนำหน่อไม้จากขั้นตอนที่ 2 นำไปนึ่งจนหน่อไม้สุก



2.4 นำหน่อไม้ที่สุกแล้วรัดปากถุงด้วยยางรัดให้แน่น เพื่อไม่มห้อากาศเข้า ใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง รัดยางให้แน่น แล้วนำไปเก็บไว้
วิธีแขวนถ้าท่านต้องการจะนำมารับประทาน นำมาต้มหนือนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

หน่อไม้ตากแห้ง

การทำหน่อไม้ตากแห้ง
หน่อไม้เป็นพืชเศรษฐกิจของชาวโสมง ในแต่ละปีเมื่อถึงคราวหน้าฝน ต้นไผ่มากมายตามยอดเขา เป็นแหล่งกำเนิดหน่อไม้ หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านโสมง ในแต่ละปีรายได้จากการทำหน่อไม้ตากแห้งของชาวโสมงเป็นรายได้ที่ดีมาก และตลาดยังคงมีความต้องการสูง การผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด การนำหน่อไม้มาตากแห้งทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาช้านาน ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อกันถึงบ้าน ในราคารที่สูงหน่อไม้ที่นำมาทำมีสองประเภท คือ หน่อไม้ไผ่ลวก จะได้ราคาดี เป็นพิเศษ คือ หลังจากตากแห้ง ก.ก ละ100 บาท สำหรับราคาส่ง แต่ถ้าเป็นหน่อไม้อื่น ๆ เมื่อนำมาตากแห้งจะได้ราคา ก.ก ละ 80 บาท

ขั้นตอนวิธีการทำหน่อไม้แห้ง

1. นำหน่อไม้มาปอกเปลือกออก

2.นำไปต้มในภาชนะที่ขนาดใหญ่ อาจทำมาจากกะทะใบบัว หรือประยุกต์โดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร


3.เมื่อหน่อไม้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น และใช้มีดฝานเป็นแผ่นบาง ๆ

4. นำหน่อไม้ที่ฝานแล้วไปตากแดด บนแคร่ไม้ไผ่จนแห้ง


5.นำหน่อไม้ที่แห้งมัดเป็นกำ พร้อมส่งจำหน่ายอาหารจากหน่อไม้แห้ง

การนำหน่อไม้แห้งไปปรุงเป็นอาหารสามารถทำได้หลากหลาย ด้วยวิธีการนำไปแช่น้ำก่อนปรุงส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเป็นต้มจืด ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคสำหรับตลาดใต้หวัน และญี่ปุ่น หรือนำไปแกง และยำก็สามารถทำได้

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552